วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Value Based Management : VBM

VBM คือ การบริหารตามฐานมูลค่าหรือ การบริหารที่เน้นมูลค่า เป็นแนวทางสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเป็นระบบ และมุ่งสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น (Maximizing Shareholder Wealth) โดยมีการนำต้นทุนของทุนมาในการคำนวณ รวมทั้งการวัดผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน (Nonfinancial) เช่นการผลทางคุณภาพ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ด้วยเหตุและผล ดังนี้

ความพึงพอใจของพนักงาน > ความพึงพอใจของลูกค้า > การสร้างผลกำไร > การเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น







  1. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
    องค์ประกอบต่าง ๆ ภายนอกกรอบสามเหลี่ยมที่การบริหารจัดการแบบเพิ่มมูลค่าจะต้องคำนึงถึง  ในขณะที่ภายในกรอบสามเหลี่ยมซึ่งมี 3 ระดับ  เวลาพิจารณาการบริหารแบบเพิ่มมูลค่าต้องจับมาเป็นแก่นทั้ง 3 ระดับ  ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกกรอบสามเหลี่ยม

    ข้อดีของเครื่องมือ
    -                   Colaborationทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
    -                   Compensation  การตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติงานตามผลงานเหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
    -                   Cost  ทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงและมีกำไรมากขึ้น
    -                   Capital  ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
    ข้อเสียของเครื่องมือ
    -                   ใช้ระยะเวลาในการจัดทำนาน
    -                   พนักงานเกิดแรงต้าน  เนื่องจากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การปรับอัตราค่าจ้าง, การจ่ายโบนัสจะอิงจากผลงาน
    -                   เกณฑ์ในการชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน  หากไม่ได้สัดส่วนเท่ากันทุกฝ่ายก็จะเกิดการเลื่อมล้ำในการวัดผล
    ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
    การนำ VBM มาใช้ในองค์กร คือ การช่วยปรับวิธีปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานในองค์กรให้สอดคล้องกันและเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นและองค์กรเป็นหลัก
    ฝ่ายบริหารจะใช้กลยุทธ์นี้เพื่อการวางแผนและปรับกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Competitive Advantage) อันจะเป็นการผลักดันให้องค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน
    มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
                    บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)  มีการนำ VBM มาใช้ 5 Element (Strategic  Planning, Resource  Allocation, Performance Measurementand Evaluation,Incentive Compensation,Investor Communication)ใช้เวลา 5 ปีหลาย ๆ อย่างภายในองค์กรก็เริ่มฟื้นฟูในทางที่ดีขึ้น โดยสะท้อนจากรายได้จากการขาย






จากแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผลจะมีลักษณะการเชื่อมโยงเสมือนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ด้วยการมุ่งผลลัพธ์การเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีองค์ประกอบทาง Nonfinancial สนับสนุนการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น สำหรับแนวคิด VBM มีองค์ประกอบดังนี้

• มูลค่าเพิ่มเงินสด (Cash Value Added : CVA)
• มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)
• อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal rate of return : IRR)
• ผลตอบแทนทางกระแสเงินสด (Cash Flow Return on Investment : CFROI)
• มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added : EVA)
• การวิเคราะห์มูลค่าผู้ถือหุ้น (Shareholder Value Analysis)

ในการนำ VBM ไปใช้กับองค์กร VBM เป็นวิธีการที่จะทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กร
• บุคลากรแต่ละคนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
• บุคลากรแต่ละคนในองค์กรได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
• ร่วมกับบุคลากรอื่นในการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในระบบที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมและตอบแทน
ยิ่งบุคลากรมีความสนใจในสิ่งเดียวกัน ก็ยิ่งทำให้ความพึงพอใจของทั้งลูกค้าและบุคลากรเพิ่มขึ้นซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุน การมีรายได้ และผลกำไรเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น
ภายใต้แนวคิดของ VBM มูลค่าขององค์กรจะวัดจากกระแสเงินสดในอนาคตที่ปรับค่าของเงินตามระยะเวลาแล้ว มูลค่าขององค์กรดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรได้ลงทุนในโครงการและได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนที่ลงไป VBM จะมุ่งความสนใจไปยังวิธีที่องค์กรจะนำมูลค่านี้มาใช้ในการสร้างกลยุทธ์รวมและการตัดสินใจในการดำเนินงานทั่วไป วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการบริหารที่นำการกำหนดเป้าหมายและการจัดการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหารมาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับองค์กร
ระบบ VBM จึงมีความคล้ายคลึงกับระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่น แต่ก็มีจุดแตกต่างไปจากระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่นตรงที่ว่า VBM จะรวมการสื่อสารเป้าหมายกลยุทธ์จากผู้บริหารไปยังพนักงานระดับปฏิบัติการและการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานจากผู้ปฏิบัติงานมายังผู้บังคับบัญชา โดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลที่เกิดจากการพยากรณ์เพื่อสนับสนุนวงจรการจัดการหรือบริหารมูลค่าทั้งหมด
ระบบดังกล่าวทำให้สามารถรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรกับเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานและสามารถนำมาสร้างสารสนเทศเพื่อการจัดการ สารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลด้วยการสร้างแบบจำลองและสถานการณ์ที่ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนกลยุทธ์ แผนเหล่านี้จะถูกนำไปแปลงเป็นเป้าหมาย ซึ่งจะผลักดันการจัดการผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ครบวงจร
VBM จึงเป็นแนวคิดของการจัดการที่พยายามปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรทุกคนในองค์กรในอันที่จะต้องเรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญการตัดสินใจก่อนหลังโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ว่าการตัดสินใจนั้นก่อให้เกิดมูลค่าแก่องค์กรอย่างไร ซึ่งหมายถึงว่ากระบวนการและระบบหลัก ๆ ทั้งหมดในองค์กรจะมุ่งเข้าสู่การสร้างมูลค่า (Creation of Value) และสร้างความมั่งคั่งจากการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความมั่งคั่งและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
ดังนั้น แนวคิด VBM จะช่วยองค์กรในการวัดผลจากการจัดการ VBM จึงเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ การประเมินผลปฏิบัติงาน และกระบวนการในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น ดังแผนภาพประกอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น