วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎี ของ Max Weber



Max Weber : ทฤษฎีระบบราชการ “Bureaucracy”
1.หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา



2. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ระบบราชการเป็นรูปแบบโครงสร้างขององค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการจัดองค์การและ การบริหารได้ทั้งองค์การภาครัฐและเอกชน มีองค์ประกอบ 7 ประการ ดังนี้
 หลักลำดับขั้น (hierarchy), หลักความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility), หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality), หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation), หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization), หลักระเบียบวินัย (discipline) และ ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
      ทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างรัดกุม ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
      ลดความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกและองค์การ
      สามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้

4. ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ

ข้อดี ของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทำงานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตุสมผล ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้

ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
 3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก(iron cage) ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร

5.ใช้อย่างไรหรือจัดทำอย่างไร



6.ใครนำไปใช้บ้างและได้ผลอย่างไร

ทฤษฎีระบบราชการถือเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กับหน่วยงานในภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่สมัยราชการที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนองค์กรในภาคเอกชนที่ต้องการความชัดเจนในการบริหารจัดการ ซึ่งมีลักษณะสำคัญขององค์กรดังนี้ 
ตัวอย่างการใช้ ได้แก่ การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนวทางของ  ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
ผลที่ได้นั้น คือ  แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการหรือแนวทางในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

7.กรณีศึกษา


การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนวทางของ  ก.พ.ร. (www.navy.mi.th/navy_admin/1.0/document/manual.pdf )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น