วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

KPI & CSF


KPI : Key Performance Indicator


แนวคิดที่ต่อยอดจากการวัดผลงานตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดขึ้น หรือที่เรียกว่า Management by objectives (MBO )แต่ MBO ที่กำหนดขึ้นไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของการทำงาน แต่แนวคิด ของKPI จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะ KPI เป็นดัชนีที่วัดผลงานหลักที่เป็นรูปธรรม สามารถวัดผลสำเร็จได้ในเชิงตัวเลข


เครื่องชี้วัดความสำเร็จ (Indicator) คืออะไร?
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน การตรวจสอบ ควบคุมและติดตามผล         เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายสูงสุด  (จะใช้วัดความก้าวหน้าของกิจกรรมและวัดผลที่ได้จากการทำกิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์)

KPI มีไว้เพื่อ
1..แสดงถึงความสำเร็จในผลงานที่ต้องการดูว่าผลงานที่มอบหมายให้นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่
2.เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลงานขององค์กร โดยต้อง
อาศัยเป้าหมายที่องค์กรต้องการบรรลุ มาเป็นหลักการในการกำหนด KPI

หลักการกำหนด KPI
1.     การสร้าง KPI mindset ให้กับผู้บริหารและพนักงาน
2.     การจัดตั้งทีมงานผู้รับผิดชอบ
3.     การกำหนด KPIแต่ละระดับ
4.     การสร้างระบบการเก็บข้อมูลตาม KPI ที่กำหนด
5.     การทำความเข้าใจ KPI ที่กำหนดและขั้นตอนการเก็บข้อมูล

ข้อดี ของ KPI
1.     ทำให้บุคคล ทีมงาน หน่วยงานได้ทราบว่าตนเองจะต้องทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
2.     ทำให้มีตัวชี้วัดความสำเร็จในการทำงานที่หลากหลายและครอบคลุม
3.     ทราบว่าตัวชี้วัดต้องการเป้าหมายและมาตรฐานอะไร
4.     ทำให้ทุกคนในองค์กรทำงานอย่างเต็มที่ เพราะทราบว่าจะถูกวัดด้วยผลงานใด และเป้าหมายใด
5.     สามารถตรวจสอบผลงานของตนเองได้ตลอดเวลา
6.     สามารถนำผลการแระเมินมาแก้ไขปรับปรุงได้ตลอดเวลา
7.     มีเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน แลพสามารถนำไปปรับปรุงมาตรฐานการทำงานในแต่ละหน่วยงานมีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย ของ KPI
1.การกำหนด ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายต้องดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุก
หน่วยงาน
2. การขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูล จะทำให้ผลการประเมินผิดพลาด
3. การเลือก KPI ตัวใดตัวหนึ่งควรใช้ควบคู่กับตัวชี้วัดด้านอื่นด้วย

ขั้นตอนการสร้าง KPI

•                   กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (What to measure?)
•                   กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต (Key Success Factor or Critical Success Factor) ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์
•                    กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
•                    กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว
•                    กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น