วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทำไมไม่ผอมสักที

ทำไมไม่ผอมสักที??

          คุณเคยสงสัยบ้างไหมถึงแม้ว่าเรารับประทานอาหารที่ปราศจากไขมัน หรือเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก เป็นสมาชิกฟิตเนส หลายคนก็ยังอ้วนอยู่ โฆษณาและบทความเกี่ยวกับวิธีลดความอ้วนระดมยิงข้อมูลใส่เรา ทุกวันและทุกเวลา แต่คุณรู้ไหมว่าร่างกายของเราเองรู้ดีอยู่แล้ว
          เมื่อเรารับประทานอาหาร ร่างกายก็จะเปลี่ยนอาหารเป็นกลูโคส ก็คือน้ำตาลที่ไหลเวียนไปกับกระแสเลือด กลูโคสเป็นอาหารของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์สมอง หรือว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทั้งหมดใช้กลูโคสเป็นอาหาร เมื่อกลูโคสเดินทางไปทั่วกระแสเลือด ตับอ่อนก็จะผลิตฮอร์โมนชื่ออินซูลิน อินซูลินทำหน้าที่เหมือนผู้รักษาประตูเซลล์ จะคอยเปิดประตูให้กลูโคสเข้ามาในเซลล์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงาน ปราศจากอินซูลิน เซลล์ก็ไม่สามารถรับอาหารได้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารับประทานอาหารเกินกว่าที่จำเป็น เพราะเราไม่ได้มีแค่เซลล์สมอง หรือเซลล์กล้ามเนื้อ แต่เรายังมีเซลล์ไขมัน ดังนั้นเมื่อมีกลูโคสมากกว่าเซลล์จะใช้ได้ มันก็จะเก็บส่วนเกินไว้ที่เซลล์ไขมัน ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของกรดไขมันอิสระ เมื่อใดก็ตามที่กลูโคสในกระแสเลือดหมดลง และเซลล์ได้รับอาหารอย่างพอเพียง อาหารส่วนเกินก็จะอยู่ในรูปของเซลล์ไขมัน อินซูลินจะปิดประตูเซลล์แล้วก็ค่อยๆ หายออกไปช้าๆ จากร่างกายของเรา เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน แต่ยังไม่ได้รับอาหารเข้าไป เราก็จะกลับไปนำพลังงานจากเซลล์ไขมัน และกรดไขมันอิสระที่สะสมมาใช้ กรดไขมันอิสระก็จะออกเดินทางจากเซลล์ไขมันเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้อาหารแก่เซลล์อื่นๆ กรดไขมันอิสระไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลินมาคอยเปิดประตูเซลล์ให้ การสะสมไขมันเกิดขึ้นเมื่อมีกลูโคสมากเกินไป และจะนำออกมาเผาผลาญในเวลาที่มีกลูโคสไม่เพียงพอ เป็นกลไกธรรมชาติที่ร่างกายของเราถูกออกแบบมาเช่นนี้
          ในโลกที่สมบูรณ์แบบ คือ การรับประทานอาหารตามโภชนาการที่สมบูรณ์แบบ ทุกอย่างก็จะทำงานอย่างสมบูรณ์แบบแต่โชคร้ายที่เราไม่ได้อยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบ อาหารก็ไม่ได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เราเลยไม่ได้รับประโยชน์จากกลไกธรรมชาติของร่างกาย
          ในทางกลับกัน เรากลับต้องทุกข์ทรมานจากการรับประทานอาหารมากเกินไป แต่กลับเผาผลาญพลังงานได้น้อย
ลองมาดูอาหารเช้าในโลกแห่งความเป็นจริง พอตื่นเช้า มื้อเช้าส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยน้ำตาลปริมาณสูง และอาหารที่ผ่านการแปรรูป พอทานเข้าไปมันก็จะเปลี่ยนเป็นกลูโคสอย่างรวดเร็ว ล้นทะลักเข้าไปในกระแสเลือด น้ำตาลยิ่งมากเท่าไหร่ ระดับน้ำตาลในเลือดหรือกลูโคสก็จะยิ่งสูงเร็วมากขึ้นเท่านั้น เมื่อตับอ่อนได้รับสัญญาณว่ามีกลูโคส ก็จะตอบสนองด้วยกันปั๊มอินซูลิน เพื่อให้ทันต่อระดับกลูโคสที่สูงขึ้นอย่ารวดเร็ว อินซูลินก็จะทำหน้าที่เปิดประตูเซลล์ เมื่อเซลล์ได้รับอาหารอย่างพอเพียงแล้ว อาหารส่วนเกินก็ถูกส่งไปที่เซลล์ไขมัน กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออินซูลินมาถึง ระดับกลูโคสในเลือดก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว
         อย่างไรก็ตาม อินซูลินใช้เวลาอย่างรวดเร็วในการออกไปจากระบบในร่างกาย ถึงแม้ว่าระดับกลูโคสในเลือดจะลดลงค่อนข้างรวดเร็ว แต่ระดับอินซูลินยังคงสูงอยู่ และนี่ก่อให้เกิดปัญหาได้ เพราะตราบใดที่ยังมีอินซูลินอยู่ในร่างกาย เราก็ไม่สามารถนำกรดไขมันอิสระในเซลล์ไขมันออกมาใช้ได้ อย่าลืมว่ากรดไขมันอิสระไม่จำเป็นต้องมีอินซูลินเปิดประตูเซลล์ ในทางตรงกันข้าม ต้องไม่มีอินซูลินอยู่ในร่างกายมันถึงจะออกจากเซลล์ไขมันได้ ร่างกายของเราจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรดไขมันอิสระไม่สามารถออกมาจากเซลล์ไขมันได้ ระดับกลูโคสก็จะสูงขึ้น ร่างกายของเราปล่อยอินซูลินออกมามากกว่าเดิม ประตูเซลล์เปิด เซลล์ได้รับอาหาร เก็บกลูโคสส่วนใหญ่ไว้ในเซลล์ไขมันต่อไป เมื่อระดับอินซูลินยังคงสูงอยู่ เราก็ไม่สามารถนำกรดไขมันอิสระออกมาใช้ได้ และยังคงเก็บสะสมไว้ในเซลล์ไขมัน แต่ไม่เคยนำออกมาใช้ วงจรนี้ผ่านมื้อกลางวัน ของว่าง มื้อเย็น และมื้อต่อๆ ไป ผลสุดท้าย ร่างกายของเราท่วมไปด้วยอินซูลินตลอดทั้งวัน ทั้งคืน สักพักร่างกายของเราจะดื้อต่ออินซูลินและแก่เร็วขึ้นกว่าปกติ บางคนก็พัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
          วิธีต่อไปนี้จะหยุดวงจรนี้ได้ Bios Life Slim (หรือ Bios Life SX ในเมืองไทย) วิธีง่ายๆ ที่ช่วยฟื้นฟูกระบวนการเผาผลาญไขมันอย่างเป็นธรรมชาติ แทนการผันผวนของระดับกลูโคสและอินซูลินอย่างที่เคยเป็นมา การดื่ม Bios Life Slim ก่อนหรือระหว่างมื้ออาหารจะช่วยทำให้ร่างกายปล่อยสารทั้งสองอย่างนี้ออกมาอย่างค่อยๆ เป็น ค่อยไป การปล่อยอินซูลินออกมมาให้เหมาะกับกลูโคสและสลายออกไปในเวลาเดียวกันกับกลูโคส เมื่อทั้งสองออกจากระบบพร้อมๆ กัน เซลล์ไขมันก็จะสามารถปล่อยกรดไขมันอิสระออกมาได้ เราเรียกว่า "ระยะเผาผลาญไขมัน" ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกิน เราก็ไม่รู้สึกหิว และไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อนเลย 2-3 ชั่วโมง หลังจากระยะเผาผลาญไขมัน ก็ได้เวลาดื่ม Bios Life Slim ก่อนอาหารมื้อถัดไปพอดี ไขมันใหม่ลดน้อยลง การเผาผลาญไขมันมากขึ้น และถ้าคุณต้องการเร่งเผาผลาญไขมันส่วนเกินให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ด้วย Bios Life Slim เราขอแนะนำ 5 วิธีง่ายๆ ที่คุณเริ่มได้ตั้งแต่วันนี้
        1. รับประทานอาหารมื้อเช้า รสชาติอร่อยของเรา Lean Complete ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน คือ โปรตีนสูงและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
        2. ดื่ม Bios Life Slim ด้วยกันกับการรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ นั่นคือ โปรตีนที่พอเหมาะ ไขมันที่มีคุณภาพและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
        3. เว้นช่วงการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้เหมาะสม 4 ชั่วโมงจากมื้อเช้าถึงมื้อกลางวัน 4 ชั่วโมงจากมื้อกลางวันถึงมื้อเย็น และ 12 ชั่วโมงจากมื้อเย็นถึงมื้อเช้า เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาเผาผลาญไขมันในขณะที่คุณหลับ
        4. สร้างกิจกรรมให้มากขึ้น โดยคุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหนัก เพียงแต่หาโอกาสออกแรงให้มากขึ้นในแต่ละวัน
        5. ลดปริมาณของหวานและอาหารแปรรูปในแต่ละวันลง โดยเฉพาะอย่ายิ่ง น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีน้ำตาลสูง เพราะทำให้ร่างกายต้องหลั่งอินซูลินออกมาในปริมาณมหาศาล

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt (FDR)

ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt  (FDR)
ทฤษฎีการจัดการภาครัฐ
1.  ประวัติความเป็นมา
เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 เกิดเมื่อวันที่  13 มกราคม  ค.ศ. 1882 และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 เมษายน  ค.ศ. 1945สำหรับประวัติการทำงานค.ศ. 1910 1912 ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาของรัฐนิวยอร์ก , ค.ศ. 1913 1920ดำรงแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ , ค.ศ. 1928 1930 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค  และ ค.ศ. 1933 1945 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐอเมริกา และได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ( The Great Depression) และหลังจากRooseveltได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 และได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า The Great Depressionดังกล่าว โดยการเสนอนโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน
2. นโยบาย New Deal ใช้เพื่อ
v   ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมในขณะนั้นโดยทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
v   ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ เช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
v   ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ


3. องค์ประกอบของNew Deal
4.  ข้อดีและข้อเสียของ New Deal
ข้อดี       เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท, มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ,  เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อเสียเป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู้รัฐบาลกลางมากเกินไปและนโยบายหลายๆโปรแกรมไม่ใช่
แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ (www.pracob.blogspot.com/2010/04/blog-post_7577.html)
5.  ขั้นตอนของการจัดทำ
v   วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
v    ประชุมคณะรัฐบาล และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
v   กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน
v   นำเสนอนโยบายต่างๆ เสนอต่อสภา
v   นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่างๆ จากส่วนกลาง สู่ ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและโปร่งใส
6.  ใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง
ผู้นำของโลกหลายคน อาทิ นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค โอบามา กรีนนิวดีลหรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก (www.arip.co.th)
7. กรณีศึกษา
การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรwww.mc.ac.th/ebook/pdf/4210019/pdf.pdf

Performance Management

Performance Management (PM) : การบริหารผลการปฏิบัติงาน
1)หลักการ
Spangenberg (1994:130) การจัดการผลการปฏิบัติงาน คือ กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายใน 12 เดือน ซึ่งวงจรประจำปีของการจัดการผลการปฏิบัติงานประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ที่ซึ่งคือหัวใจสำคัญของการจัดการผลการปฏิบัติงาน Spangenberg in Williams (2003:20) คิดว่าการจัดการ 3 ระดับที่กล่าวถึงขั้นต้นนั้นจะจัดการเชื่อมต่อด้วยวงจรผลการปฏิบัติงานประจำปี 5 ขั้นตอน ที่ซึ่งจะถูกบูรณาการเข้าไปในทุกผลการปฏิบัติงานของทุกระดับ 1.วางแผนผลการปฏิบัติงาน 2.ออกแบบผลการปฏิบัติงาน 3.จัดการผลการปฏิบัติงาน (และพัฒนา) 4.ประเมินผลการปฏิบัติงาน 5.ผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน
2)เครื่องมือนี้คืออะไร
การบริหารผลการปฏิบัติงาน คือ กระบวนการวางแผน (Planning) เพื่อทำข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติงาน ความคาดหวัง การกำหนดเป้าหมาย การวัดผล และมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สนับสนุนเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละระดับ โดยการใช้กระบวนการบริหารจัดการ (Managing) เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานผ่านการฝึกสอน (Coaching) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่พนักงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งต้องมีการทบทวนผลการปฏิบัติงาน (Reviewing) อย่างเป็นทางการและรวมถึงการอภิปรายและทำข้อตกลงเพื่อการพัฒนา อันจะนำไปสู่การพัฒนา เพื่อยกระดับผลการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นและมีศักยภาพในการทำงานที่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นการบริหารจัดการผลการดำเนินงานขององค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานให้สอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกัน อันเป็นผลจากความเชื่องโยงของเป้าหมายและมาตรฐานขององค์การที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การวางแผนผลการดำเนินงาน (Planning performance) การบริหารผลการดำเนินงาน (Managing performance) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Apprising performance)
3)เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง (2-way communication) ภายใต้ความเชื่อในลักษณะความเท่าเทียมกันของหุ้นส่วน (Partnership) โดยแสดงให้เห็นถึงข้อตกลงร่วมกันระหว่างงานและความคาดหวัง อันจะนำไปสู่วิธีการที่จะทำให้พนักงานบรรลุเป้าหมายการทำงาน มีวิธีการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายในการที่จะช่วยปรับปรุงและ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และค้นหาวิธีการแก้ไขอุปสรรคที่ขัดขวางการทำงาน (Bacal, 1999 : 93) และ เมื่อกระบวนการข้างต้นได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จะทำให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอยู่บนพื้นฐานของการบริหารทรัพยากรต่างๆ ที่องค์การมีอยู่อย่างคุ้มค่า และพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่าง ดี (Bredrup, 1995a : 85 อ้างถึงใน Williams, 1998 : 62)
4)ข้อ/ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี :       -ทำให้การจัดการพนักงานหรือระบบผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร
-การใช้ระบบเครือข่ายทางด้านสารสนเทศให้เป็นเอกภาพเดียวกัน
-การประเมินที่เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องและโปร่งใส ไม่ใช่เพียงการจดบันทึกสถิติการทำงาน
-ให้ผลตอบแทนผลประโยชน์ต่อการขายทั้งทางตรงและทางอ้อม
-การเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการ และสามารถปลดพลังความสามารถ ทักษะ ความกระตือรือร้น
ข้อเสีย :   การให้น้ำหนักสำหรับผลสำเร็จของงานแต่ละตัวอาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติได้ เช่นผู้ปฏิบัติงานอาจเลือกทำงานที่มีผลต่อคะแนนมากและละเลยงานที่มีน้ำหนัก น้อย หากงานที่มีน้ำหนักน้อยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตใหญ่ซึ่งมีผู้เกี่ยว ข้องหลายฝ่าย ก็จะทำให้งานเกิดการติดขัด ไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้ อีกทั้งอาจทำให้เกิด พนักงานกลุ่มต่ำกว่ามาตรฐาน หรือ Poor Performance Managementขึ้นได้
5)ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานมี 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 2 การจัดสรรทรัพยากรและการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และการรายงานผล
ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการแก้ไขที่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงและให้ประสบความสำเร็จ
6)มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
-การปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา : บริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น(ไทยแลนด์) จำกัด
(จิรานุช, จริญญา, นันทิดา 2550)
-การพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (Developing the Performance Management System)
กรณีศึกษา : โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ(เสาวลักษณ์, จตุพร, นันทพร 2551)
(ที่มา : โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA-HRM), http://hrm.bus.tu.ac.th/thai/thesis.asp)
7)กรณีศึกษา
-PERFORMANCE EVALUATON AND REWARD IN AUSTRALAN LOCAL GOVERNMENT
- EXPATRIATE PERFORMANCE MANAGEMENT AT NOKIA, FNLAND
(ที่มา : Carol Atkinson and Sue Shaw, Managing performance)

Learning Organization

Learning Organization (LO): องค์กรแห่งการเรียนรู้
1)หลักการ
แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ของซิงเก้(Senge)  ศาสตราจารย์ดร. ปีเตอร์ชิงเก้( Prof. Dr. Peter  M. Senge. 1990) ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งองค์การแห่งการเรียนรู้ได้กล่าวถึงหลักการขององค์การแห่งการเรียนรู้ว่าประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ5 หลักการดังนี้คือ1.ความรอบรู้แห่งตน(personal mastery) หรือการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
2.แบบจำลองความคิด(mental  models)3.การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม(shared vision)4.การเรียนรู้เป็นทีม(team  learning)
5.การคิดเชิงระบบ(systems thinking)
2)เครื่องมือนี้คืออะไร
อะกิริส(Argyris) ผู้ที่เริ่มแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์การการลดทอนในสิ่งที่เขาเรียก“defensive routines” หรือรูปแบบที่ผู้คนแสดงออกเป็นนิสัยเพื่อปกป้องหรือแก้ตัวส่วนซิงเก้(Senge)ได้ให้ความหมายว่าเป็นองค์การที่บุคลากรในองค์การนั้นมุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถของตนมีการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นและมีการขยายขอบเขตแบบแผนของการคิดสามารถสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆได้อย่างอิสระและเป็นที่สมาชิกขององค์การมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องถึงวิธีการที่จะเรียนรู้(learn  how  to  learn )ร่วมกัน(Senge. 1990: 1)
3)เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการบริหารอีกอย่างหนึ่งที่เน้นการพัฒนาสภาวะผู้นำในองค์การควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรซึ่งเป็นผลให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์และทักษะระหว่างสมาชิกขององค์การเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีระดับของการพัฒนาการขององค์การเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าความเปลี่ยนแปลงใดๆในกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การนั้นๆ
4)ข้อ/ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี :       -มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลโดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม(Team working)
-สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงเปิดโอกาสให้ทีมทำงาน
-มีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็งพร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน
ข้อเสีย:    -Model ของLearning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัด
                -กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริงขอบเขตของการนำLearning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก
                -ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็นLearning Organization ไม่ชัดเจนและการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็นLearning Organization
-หากมีการเปลี่ยนผู้นำความสนใจที่จะกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์การจะหายไป
5)ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำในเชิงCapability Perspective ในมุมมองของDI bella&Scheinที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการหากไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสมการปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
ระดับที่ 2คือ Espaused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดูกต้องควรทำซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท
ระดับที่ 3คือ Basic Underlining Assumtionเป็นความเชื่อ การรับ ความคิดและความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การและเป็นระดับที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจและดึงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมในการประเมินวัฒนธรรมองค์การที่จะเข้าใจวัฒนธรรมองค์การอย่างแท้จริงจะสามารถทำได้โดยการสัมภาษณ์เท่านั้น
The Learning Organization Model(ที่มา : Olivier Serrat, Building a LearningOrganization )
6)มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
- บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงแยกความรู้ออกเป็นกลุ่มๆเนื่องจากแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกันเช่นในส่วนเทคนิคระดับสูงจะจัดวิศวกรที่มีความสนใจร่วมกัน 4 คนต่อทีมมาทำงานร่วมกับวิศวกรอาวุโสที่มีชั่วโมงการทำงานสูงแต่อาจจะมีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆน้อยในกลุม่มีกิจกรรมสอนงานประชุมหารือแลกเปลี่ยนความรู้และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆความรู้ที่ได้หรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆจะถูกรวบรวมเป็นคู่มือหรือบทความเข้าระบบศูนย์ข้อมูลเพื่อให้พนักงานทุกคนมาศึกษาได้
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดให้มี Online Learning Center ให้พนักงานเข้าถึงและค้นข้อมูลได้ง่ายและฝึกฝนให้ไม่กลัวเทคโนโลยีรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเองทำให้การฝึกอบรมจะลดบทบาทลงไปส่วนหนึ่ง
7)กรณีศึกษา
From learning organization to learning community: Sustainability through lifelong learning
(ที่มา : http://www.emeraldinsight.com/journals.htm?articleid=17042789&show=abstract)

ABC Activity Base Costing


ต้นทุนกิจกรรม หรือABC(Activity-based Costing)
  1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

หลักการ/แนวคิด : กิจกรรมนั้นจะต้องเป็นผู้รับภาระต้นทุน ซึ่งวิธีการในการคิดต้นทุนให้กับกิจกรรมนั้นจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) ในการปันส่วนเข้ากิจกรรมแล้วจึงคิดต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่สิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน (Cost Object)
                 ความจำเป็นคือ การคำนวณต้นทุนในระบบเดิม อาจเกิดความผิดพลาดในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ในกรณีที่มีการผลิตหลายประเภท

แนวคิดในการการสร้าง ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม

  1. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC)  คือ การวัดค่าต้นทุนและผลการปฏิบัติงานอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรไปในกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในรูปของสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน มีองค์ประกอบดังนี้
1 กิจกรรม (Activities) หมายถึง การกระทำที่เปลี่ยนทรัพยากรของกิจกรรมให้เป็นผลได้ (Output) หรือสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน
2 ตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) หมายถึง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมและต้นทุนของกิจกรรม เช่น ปริมาณงาน เป็นต้น
3 ตัวผลักดันทรัพยากร (Resource Driver) หมายถึง ปัจจัยหรือเกณฑ์ที่ใช้เป็นตัวกำหนดสัดส่วน การใช้ทรัพยากรต่างๆ เข้าไปในหน่วยงานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น ตารางเมตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาพื้นที่ เป็นต้น
4 ตัวผลักดันกิจกรรม (Activity Driver) หมายถึง ปัจจัยหรือเกณฑ์ที่ใช้เป็นตัวกำหนดสัดส่วนการใช้กิจกรรมต่างๆ เข้าไปกับผลได้หรือสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน เช่นจำนวนใบสั่งซื้อในแผนกจัดซื้อ จำนวนใบรับของในแผนกตรวจรับ เป็นต้น
3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
           เพิ่มความถูกต้องในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์, เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน, เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและการควบคุมต้นทุน และ เพื่อการสร้างความเป็นเลิศแก่กิจการ

4.ข้อดี และ ข้อเสีย/ข้อจำกัด ของเครื่องมือ
ข้อดี : เหมาะกับ กิจการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการหลายชนิด, การแยกกิจกรรมให้ละเอียดที่สุดจะส่งผลให้ทำให้ต้นทุนที่คำนวณได้นั้นมีความถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่รู้จบในองค์กร
ข้อเสีย/ข้อจำกัด : ระบบต้นทุนกิจกรรมไม่เหมาะสมกับกิจการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพียงชนิดเดียว, การแยกกิจกรรมให้ละเอียดที่สุดจะส่งผลให้ทำให้ต้นทุนที่คำนวณได้นั้นมีความถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดแต่ความละเอียดในการแยกกิจกรรมนี้ จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง, ระบบต้นทุนกิจกรรมอาจก่อให้เกิดการต่อต้านจากบุคคลภายในกิจการ, ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนกิจกรรมของพนักงานในกิจการเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งหากมีความเข้ใจไม่ตรงกัน อาจทำให้เกิดปัญหาในการนำระบบต้นทุนกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมได้ และควรระวังในเรื่องของการกำหนดกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบเทคโนโลยี ตลอดจนปัจจัยด้านบุคลากรและองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการคำนวณต้นทุนในระบบนี้
5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)


6. มีใครนำเครื่องมือไปใช้บ้าง และได้ผลสรุปอย่างไร
                การนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมไปใช้ถือเป็นประโยชน์กับทุกองค์กรดังกรณีตัวอย่างโดยเฉพาะกับองค์กรที่มีหลายผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และองค์กรที่ต้องการพัฒนาในเรื่องของการคำนวณต้นทุน ได้แก่ การประยุกต์วิธีวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่
                  
ผลสรุปที่ได้ : จากผลการศึกษาทาให้ผู้ผลิตสามารถทราบโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถนาไปสู่การตัดสินใจในการลดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าได้ แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ สามารถทาได้ โดยการรวมกลุ่มสมาชิกเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อวางแผนการผลิต การจัดหาเมล็ดพันธุ์ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์กลางกระจายผลผลิต
7.กรณีศึกษา   
 การประยุกต์วิธีวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ (agri.eco.ku.ac.th/ageconconference2012/seminar.../AB06.pdf)

ทฤษฎี ของ Max Weber



Max Weber : ทฤษฎีระบบราชการ “Bureaucracy”
1.หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา



2. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ระบบราชการเป็นรูปแบบโครงสร้างขององค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการจัดองค์การและ การบริหารได้ทั้งองค์การภาครัฐและเอกชน มีองค์ประกอบ 7 ประการ ดังนี้
 หลักลำดับขั้น (hierarchy), หลักความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility), หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality), หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation), หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization), หลักระเบียบวินัย (discipline) และ ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
      ทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างรัดกุม ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
      ลดความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกและองค์การ
      สามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้

4. ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ

ข้อดี ของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทำงานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตุสมผล ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้

ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
 3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก(iron cage) ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร

5.ใช้อย่างไรหรือจัดทำอย่างไร



6.ใครนำไปใช้บ้างและได้ผลอย่างไร

ทฤษฎีระบบราชการถือเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กับหน่วยงานในภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่สมัยราชการที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนองค์กรในภาคเอกชนที่ต้องการความชัดเจนในการบริหารจัดการ ซึ่งมีลักษณะสำคัญขององค์กรดังนี้ 
ตัวอย่างการใช้ ได้แก่ การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนวทางของ  ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
ผลที่ได้นั้น คือ  แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการหรือแนวทางในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

7.กรณีศึกษา


การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนวทางของ  ก.พ.ร. (www.navy.mi.th/navy_admin/1.0/document/manual.pdf )